share

โภชนาการ สำหรับคุณแม่ให้นมบุตร

Last updated: 8 Sep 2023
103 Views
โภชนาการ สำหรับคุณแม่ให้นมบุตร

อาหารและพลังงานสำหรับคุณแม่ให้นมบุตร
ในการผลิตน้ำนม ร่างกายคุณแม่ต้องใช้พลังงานประมาณ 20 กิโลแคลอรีเพื่อผลิตน้ำนม 30 มิลลิลิตร ดังนั้นร่างกายจึงต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างน้อยวันละ 500 กิโลแคลอรีเพื่อสร้างน้ำนมอย่างเพียงพอ (เฉลี่ย 750 มิลลิลิตรต่อวัน)
**กรณีที่น้ำหนักหลังคลอดค่อนข้างมาก อาจไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณอาหารที่รับประทาน เนื่องจากร่างกายนั้นสามารถดึงพลังงานและสารอาหารที่สะสมไว้ไปใช้ได้ก่อน ในกรณีนี้คุณแม่ให้นมสามารถรับประทานอาหารในปริมาณเท่าเดิมได้ และหลังจาก 6 เดือนเป็นต้นไป หากมีความต้องการจะลดน้ำหนักคุณแม่จึงค่อยเริ่มจำกัดปริมาณและชนิดของอาหารรวมถึงพลังงานที่ได้

เทคนิคการเลือกรับประทานอาหารและการปฏิบัติตนสำหรับคุณแม่ระยะให้นมบุตร
1. รับประทานอาหารที่มีโปรตีน
โปรตีนเป็นองค์ประกอบสำคัญของในน้ำนม ส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อส่งผ่านไปยังลูกได้ การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนครบถ้วนและหลากหลาย เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ และเนื้อปลา ถั่วลันเตา เห็ดชนิดต่างๆ เพิ่มขึ้นประมาณ 2 ช้อนกินข้าวต่อมื้อ หรือเทียบเท่ากับไข่ไก่ 1 ฟองต่อมื้อ หรือดื่มนมประมาณ 3 แก้วต่อวัน

นอกจากนี้ การรับประทานปลาทะเลประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์จะทำให้ได้รับกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 และ DHA เพิ่มขึ้นซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาทางสมองและระบบประสาทของทารก ทั้งนี้ควรรับประทานปลาทะเลอย่างหลากหลาย เช่น ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาทู ปลาแซลมอน ปลากะพง ปลาจะละเม็ดขาว ปลานิล เป็นต้น แต่ไม่ควรรับประทานปลาชนิดเดิมทุกวัน เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของโลหะหนัก เช่น ปรอท ได้

2. รับประทานผักและผลไม้ทุกมื้อ
ผักและผลไม้หลากสีเป็นแหล่งของใยอาหาร วิตามิน เกลือแร่ และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนควรรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน

3. เลือกรับประทานอาหารกลุ่มข้าว-แป้งที่ขัดสีน้อยหรือไม่ขัดสี
อาหารกลุ่มข้าว-แป้งที่ขัดสีน้อยหรือไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต และธัญพืชชนิดต่างๆ เนื่องจากมีใยอาหารสูงช่วยลดการท้องผูก

4. ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ
การให้นมบุตรนั้นจะทำให้กระหายน้ำบ่อยขึ้น คุณแม่ควรดื่มน้ำวันละ 13-16 แก้วต่อวัน หรือดื่มน้ำ 1 แก้วใหญ่ทุกครั้งหลังการให้นมบุตร

5. เน้นอาหารปรุงสุก สะอาด สดใหม่
การรับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด สดใหม่ ทำให้ลดโอกาสการได้รับสารพิษจากแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารกึ่งสุก กึ่งดิบและอาหารค้างคืนในระยะให้นมบุตร งดการสูบบุหรี่เนื่องจากการสูบบุหรี่จะมีผลให้ร่างกายผลิตน้ำนมได้ลดลง ปริมาณวิตามินซีในน้ำนมก็ลดลง อีกทั้งเป็นการทำลายปอดของทารกอีกด้วย

6. อาหารมังสวิรัติ
หากรับประทานมังสวิรัติชนิดที่ไม่รับประทานนมและไข่ คุณแม่ระยะให้นมบุตรควรเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย เช่น ข้าว คีนัว เต้าหู้ เมล็ดถั่ว และถั่วเปลือกแข็ง เพื่อให้ได้รับกรดอะมิโนที่จำเป็นอย่างครบถ้วน เลือกรับประทานผักใบเขียวที่เป็นแหล่งของแคลเซียม เช่น ผักคะน้า ผักโขม ผักกวางตุ้ง บรอกโคลี รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่มีการเสริมแร่ธาตุชนิดต่างๆ เช่น แคลเซียม วิตามินดี ธาตุเหล็ก สังกะสี และวิตามินบี 12 เพื่อป้องกันภาวะขาดวิตามินบี 12 ซึ่งเป็นวิตามินที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาทในทารก

บทความที่เกี่ยวข้อง
ฟันผุ ขณะตั้งครรภ์ เสี่ยง! คลอดก่อนกำหนด
เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ฮอร์โมนและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปากมากขึ้น
ดื่มเบียร์ ขณะตั้งครรภ์ ล้างไขทารกได้ จริงหรือ?
แอลกอฮอล์ ส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ร้ายแรง แม้จะดื่มในปริมาณน้อยก็ตาม การดื่มเบียร์ขณะตั้งครรภ์ เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากมาย
เตรียมตัว ฝากไข่-สเปิร์ม เพื่อวางแผนมีบุตร
การฝากไข่และสเปิร์ม เหมาะสำหรับชาย หญิง ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ แต่ยังไม่พร้อมมีบุตร เป็นการเก็บรักษาคุณภาพของไข่และสเปิร์มให้มีคุณภาพดีและสามารถนำมาใช้เมื่อคู่สมรสพร้อมที่จะมีบุตร
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ