share

เตรียมตัว ฝากไข่-สเปิร์ม เพื่อวางแผนมีบุตร

Last updated: 4 May 2024
181 Views
เตรียมตัว ฝากไข่-สเปิร์ม เพื่อวางแผนมีบุตร

การฝากไข่-ฝากสเปิร์ม เพื่อวางแผนการมีบุตร

การฝากไข่และสเปิร์ม เหมาะสำหรับชาย หญิง ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ แต่ยังไม่พร้อมมีบุตร เป็นการเก็บรักษาคุณภาพของไข่และสเปิร์มให้มีคุณภาพดีและสามารถนำมาใช้เมื่อคู่สมรสพร้อมที่จะมีบุตร จะได้ผลดีและได้ไข่ที่มีคุณภาพดีที่สุด ควรทำการฝากไข่ก่อนอายุ 35 ปี และไม่ควรเกินอายุ 45 ปี เพราะโดยธรรมชาติ ผู้หญิงที่มีอายุเกิน 35 ปี จะมีการทำงานของรังไข่ลดลง รวมทั้งคุณภาพและปริมาณของไข่ก็ลดลงอย่างชัดเจน ส่งผลให้การมีลูกด้วยวิธีตามธรรมชาตินั้นยากมากยิ่งขึ้น

การฝากไข่ สำหรับผู้หญิง (Egg freezing) 

คือการเลือกไข่คุณภาพดีเพื่อการมีบุตร โดยนำเซลล์สืบพันธุ์ของผู้หญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ ที่มีความสมบูรณ์ มีคุณภาพที่ดีนำออกมาเก็บไว้โดยวิธีแช่แข็ง สามารถเก็บไข่ครั้งละมากกว่า 1 ฟอง จึงสามารถเลือกไข่คุณภาพดีมาทำการปฏิสนธิ

ผลข้างเคียง
  • อาจมีเลือดออกในรังไข่ ส่งผลให้ปวดท้องประมาณ 1-2 วัน โดยไม่มีอาการรุนแรงใดๆ
  • อาการคัดเต้านม บวมน้ำ ขาบวม
  • น้ำหนักขึ้น
* ผลข้างเคียงต่างๆ จะปรากฏก่อนช่วงมีประจำเดือน เมื่อประจำเดือนกลับมาปกติ อาการต่างๆ ก็จะหายไป  เนื่องจากฮอร์โมนลดลงเป็นปกติ

การฝากสเปิร์ม สำหรับผู้ชาย (Sperm freezing)

คือ การนำสเปิร์มจากน้ำอสุจิของผู้ชายไปแช่แข็ง ใช้กระบวนการเดียวกับการแช่แข็งไข่ เพียงแต่มีขั้นตอนที่ง่ายกว่า โดยเก็บจากการหลั่งอสุจิตามธรรมชาติ แล้วนำไปคัดเลือกสเปิร์มใส่หลอด ซึ่งสามารถเก็บได้ครั้งละมากกว่าล้านตัว แล้วนำไปแช่แข็งในกระบวนการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ไม่มีผลข้างเคียง

ระยะเวลาการเก็บรักษา 

โดยทั่วไปแพทย์จะแนะนำให้ใช้ภายใน 5 ปี เพื่อประโยชน์สูงสุด เพราะหลังจาก 5 ปีอาจมีความเสี่ยงที่ไข่หรือสเปิร์มที่แช่แข็งไว้จะเสื่อมคุณภาพมากกว่าในช่วง 5 ปีแรก แต่บางครั้งแม้เก็บไว้ 7 10 ปีก็ยังนำออกมาใช้ได้

บทความที่เกี่ยวข้อง
ฟันผุ ขณะตั้งครรภ์ เสี่ยง! คลอดก่อนกำหนด
เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ฮอร์โมนและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปากมากขึ้น
ดื่มเบียร์ ขณะตั้งครรภ์ ล้างไขทารกได้ จริงหรือ?
แอลกอฮอล์ ส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ร้ายแรง แม้จะดื่มในปริมาณน้อยก็ตาม การดื่มเบียร์ขณะตั้งครรภ์ เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากมาย
ทารก VS. น้ำผึ้ง อันตรายอย่างไร?
ผู้ใหญ่หลายคนอาจจะคิดว่าน้ำผึ้งเป็นยา ช่วยบำรุงร่างกายได้ ถ้าให้เด็กกินน่าจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง แต่สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ไม่ควรที่จะทาน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ