แชร์

ทารกแรกเกิดกับความเสี่ยง "G6PD"

อัพเดทล่าสุด: 11 ม.ค. 2024
313 ผู้เข้าชม

G6PD

ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นโรคแพ้ถั่วปากอ้า แต่จริงๆ แล้วโรค G6PD (Glucose-6-phosphate dehydrogenase) ไม่แพ้แค่ถั่วปากอ้าค่ะ G6PD หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่าเป็น “โรคพร่องเอนไซม์ G6PD” เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม จากแม่ไปสู่ลูก โดยร้อยละ 15 จะเกิดกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง

มักทำให้เกิดอาการเม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลันและเกิดภาวะซีด เมื่อมีปัจจัยกระตุ้นต่างๆ หรืออยู่ในสภาวะ oxidative stress เช่น การรับประทานยาบางชนิดเช่น ยากลุ่ม NSAIDs บางชนิด ยาแอสไพริน ยาปฏิชีวนะบางชนิด, การติดเชื้อ, การกินถั่วปากอ้า

ผู้ที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติ แต่อาจพบร่วมกับภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ผู้ป่วยมีอาการซีดลงเฉียบพลัน บางรายอาจพบว่ามีปัสสาวะสีน้ำตาลดำหรือสีคล้ายโคล่า ซึ่งเป็นสีของฮีโมโกลบินที่ได้จากเม็ดเลือดแดงที่แตกในหลอดเลือดและถูกขับออกมาทางปัสสาวะ

เนื่องจากเป็นโรคทางพันธุกรรม จึงไม่สามารถป้องกันได้ การป้องกันจึงทำได้เพียงการหลีกเลี่ยงยาและสารกระตุ้นที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกตัว แม้ว่าโรคพร่องเอนไซม์ G6PD จะเป็นโรคที่ไม่ได้มีอันตรายและความรุนแรงถึงชีวิต แต่ก็เป็นโรคที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ หรือผู้ที่วางแผนจะมีบุตร ควรรู้จัก เพื่อจะได้สังเกตอาการของลูกว่ามีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD หรือไม่ เพื่อจะได้เตรียมการรักษาและการป้องกันไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตกนั่นเอง


บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำไมหัวลูกน้อย "เต้นตุบๆ" ตลอดเวลา
"กระหม่อมทารก" (หรือที่เรียกว่า ฟอนตาเนลล์ (fontanelles)) คือ ช่องว่างระหว่างกระดูกหลัก 5 ชิ้นของกะโหลกศีรษะ (ที่ทำให้พ่อแม่เห็นศีรษะลูกน้อยเต้นตุบๆ)
6 สิ่ง ที่คุณอาจไม่รู้ว่าลูกน้อยของคุณ "ทำได้ดี"
ใครจะคิดว่า "ทารก" มีความสามารถที่น่าทึ่งเกินกว่าที่คุณจะจินตนาการ
เทคนิค "แปรงฟัน" ให้ลูกน้อยครั้งแรก
ขั้นตอนการแปรงฟันของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกหนักใจ โดยเฉพาะครั้งแรกของคุณ สิ่งสําคัญคือต้องทำอย่างช้าๆ และอ่อนโยน
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ