แชร์

6 สิ่ง ที่คุณอาจไม่รู้ว่าลูกน้อยของคุณ "ทำได้ดี"

อัพเดทล่าสุด: 17 มี.ค. 2025
73 ผู้เข้าชม

สัมผัสอารมณ์

ทารกมีความอ่อนไหวต่ออารมณ์  เมื่อทารกแรกเกิดอายุเพียงไม่กี่เดือน พวกเขาจะตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างการแสดงออกที่มีความสุขกับการแสดงออกที่เศร้า เด็กสามารถสัมผัสได้ว่าคนอื่นรู้สึกอย่างไร โดยในปี 2019 ได้มีการตีพิมพ์ใน British Journal of Psychology, ให้ทารก 5-9 เดือน ดูคลิปวิดีโอ ใน 2 การทดลอง (ref: https://bpspsychub.onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/bjop.12402)

  1. การทดลองที่ 1
    • คลิปแรก เป็นคลิปตัวละครสี่เหลี่ยม(สีม่วง)ที่โดนรังแกจากตัวละครวงกลม(สีเขียว) แล้วมีเสียงร้องไห้
    • และคลิปที่ 2 เป็นคลิป ตัวละครสี่เหลี่ยม(สีเหลือง)และตัวละครวงกลม(สีน้ำเงิน) เดินมาเจอกัน แล้วร้องฮัมเพลง มีความสุข
  2. การทดลองที่ 2
    • คลิปแรก เป็นคลิปตัวละครสี่เหลี่ยม(สีเหลือง) เศร้า ร้องไห้
    • คลิปที่ 2 เป็นคลิปตัวละครสี่เหลี่ยม(สีม่วง) ฮัมเพลง มีความสุข

เมื่อเสนอทางเลือกให้ทารก ระหว่างตัวละครสี่เหลี่ยมสองตัว ในแต่ละการทดลองดังกล่าว พบว่า ทารกส่วนใหญ่จะเลือกตัวละครสี่เหลี่ยมที่แสดงออกถึงความทุกข์ เศร้า นักวิจัยจึงสรุปได้ว่าทารก สามารถแสดงอารมณ์ที่เห็นอกเห็นใจต่อหุ่นที่ถูกรังแก

เพราะฉะนั้น การแสดงออกทางอารมณ์ของพ่อแม่ และคนรอบข้าง เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาการของลูกน้อยมากๆ ทารกสามารถรับรู้และตอบสนองต่ออารมณ์เหล่านั้นได้เป็นอย่างดี

พูดด้วยภาษามือ

ทารกกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ภาษามือก่อนที่จะเริ่มพูด และมันจะประโยชน์มากๆ สำหรับพ่อแม่ ทารกสามารถบอกคุณได้ว่าเขาเห็นหรือได้ยินอะไร เช่น เครื่องบินเหนือศีรษะ สุนัขเห่าข้างนอก นอกจากนี้ทารกที่ใช้ภาษามือก่อนพูด จะสามารถเรียนรู้ที่จะพูดเร็วขึ้น ได้คะแนนสูงขึ้น ในการทดสอบสติปัญญา จดจำคําศัพท์ได้มากขึ้น และแสดงความมั่นใจในตนเองมากขึ้นเมื่อเทียบกับเด็กรุ่นเดียวกันที่ไม่ได้ใช้ภาษามือ

สามารถเริ่มฝึกง่ายๆ ด้วยคำง่ายๆ เช่น กิน นม นอน เปียก (ทำสัญลักษณ์มือ ไปพร้อมๆ กับพูดคำๆ นั้น ย้ำๆ)

เข้าใจคณิตศาสตร์

ใครจะรู้ว่า ทารก มีความรู้สึกขั้นพื้นฐานในการบวกลบ มีการศึกษาของ Ben-Gurion University of the Negev ให้เด็กอายุ 6 - 9 เดือนชมการแสดงหุ่นกระบอกที่มีตัวละครสองตัว เมื่อจบการแสดง นักวิจัยก็เอาหุ่นกระบอกออกหนึ่งตัวออกและปิดม่าน

แต่เมื่อเปิดม่านอีกครั้งหุ่นกระบอกยังคงอยู่ 2 ตัวเหมือนเดิม จากนั้นพวกเขาก็ทําการทดลองนี้ซ้ำๆ และมีตอนจบเหมือนเดิม ผลปรากฏว่า ทารก มีการจ้องมองเป็นเวลานาน บ่งชี้ว่าพวกเขาเข้าใจว่า สองลบหนึ่ง ไม่เท่ากับ สอง

อีกทั้ง ทารกยังดูเหมือนจะสามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้ตรรกะทางวิทยาศาสตร์ได้ โดยการศึกษาของ University of British Columbia study ในปี 2008 ให้เด็กอายุ 8 เดือนทำการทดสอบ

กล่องใบที่ 1 มีลูกบอลสีแดงจํานวนมาก และลูกบอลสีขาวเพียงไม่กี่ลูก

นักวิจัยทำการดึงลูกบอล 5 ลูกจากในกล่องออกมา ได้สีแดง 1 ลูก และ สีขาว 4 ลูก แล้วนำไปแสดงให้ทารกดู จากนั้นให้พวกเขาแอบมองเข้าไปในกล่องได้

ผลปรากฎว่า เด็กๆ จ้องมองกล่องนานขึ้น โดยตระหนักว่าลูกบอลสีขาวที่ออกมาเป็นส่วนมากนั้น ไม่ตรงกันทางสถิติ (เพราะมันเป็นไปได้หรือเป็นไปได้น้อยมาก ที่จะหยิบลูกบอลสีที่มีน้อย ให้ออกมาเยอะได้แบบนั้น)

เรียนรู้ภาษาที่สอง

ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จะแนะนําให้รอจนถึงอายุ 3 ขวบก่อน แล้วค่อยเริ่มเรียนภาษาที่สอง แต่การศึกษาในปี 2017 โดยทีมนักวิจัยนานาชาติ พบว่าแม้แต่ทารกก็สามารถแยกแยะคําในภาษาต่างๆ ได้ดี การศึกษารายงานว่าเมื่อทารกอายุ 20 เดือนเป็นต้นไป สามารถประมวลผลภาษาที่ 2 ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

หากคุณหรือคู่สมรสหรือคนในครอบครัวมีการพูดภาษาที่สอง อาจใช้ภาษานี้พูดคุยกับลูกน้อยของคุณเป็นประจํา ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเด็กจะจํา แล้วปรับใช้ได้ดี ก็ต่อเมื่อได้ฟังและพูดภาษาอื่นอย่างน้อย 10-25%

จดจําใบหน้า

ภายใน 2-3 เดือนแรก ทารกสามารถจะจดจําใบหน้าของคุณได้แล้ว และประมาณช่วง 5- 8 เดือน พวกเขาจะสามารถแยกความแตกต่างระหว่างคนคุ้นเคยกับคนแปลกหน้าได้

ตอบสนองต่อเพลง

อย่างที่คุณพ่อคุณแม่เห็น สถิติยอดวิว ยอดฟังของเพลงสำหรับเด็กในแพลตฟอร์มสตรีมต่างๆ พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์แทบจะทุกเพลงเลยนะคะ

นักวิจัยยืนยันว่า "ความสามารถในการจับจังหวะในลําดับเสียงนั้น สามารถทำได้ตั้งแต่แรกเกิด" เด็กจะตอบสนองต่อดนตรีมากที่สุด คุณพ่อคุณแม่สามารถทำทุกอย่างให้เป็นทำนอง เป็นจังหวะเพื่อช่วยให้พวกเขาเรียนรู้สิ่งอื่น ๆ ได้ เช่น คุณสามารถสร้างเนื้อเพลงหรือทํานองของคุณเองเพื่อสอนส่วนต่างๆ ของร่างกาย, การทำกิจวัตรประจำวัน เป็นต้น


References
Pfaff, L. G. (2022, December 26). 6 Things You May Not Know Your Baby Can Do. Retrieved from parents: https://www.parents.com/baby/development/intellectual/6-things-you-may-not-know-your-baby-can-do/

บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำไมหัวลูกน้อย "เต้นตุบๆ" ตลอดเวลา
"กระหม่อมทารก" (หรือที่เรียกว่า ฟอนตาเนลล์ (fontanelles)) คือ ช่องว่างระหว่างกระดูกหลัก 5 ชิ้นของกะโหลกศีรษะ (ที่ทำให้พ่อแม่เห็นศีรษะลูกน้อยเต้นตุบๆ)
เทคนิค "แปรงฟัน" ให้ลูกน้อยครั้งแรก
ขั้นตอนการแปรงฟันของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกหนักใจ โดยเฉพาะครั้งแรกของคุณ สิ่งสําคัญคือต้องทำอย่างช้าๆ และอ่อนโยน
เช็คพัฒนาการลูกน้อย Newborn Reflexs
ปฏิกิริยาตอบสนองของเด็กแรกเกิด (Newborn Reflexs) เป็นการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติที่ทารกทำเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าบางอย่างที่เกิดขึ้น เช่น ดูด กำนิ้ว สะดุ้ง เป็นต้น
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ