แชร์

ท่าอุ้มให้นมลูก อุ้มเข้าเต้าอย่างไรให้ถูกวิธี

อัพเดทล่าสุด: 14 ก.ย. 2023
294 ผู้เข้าชม

ท่าหลักๆ สำหรับอุ้มเมื่อต้องการให้นมลูก จะมีอยู่ 4 ท่าทาง ดังนี้

Cradle Hold - เอาลูกนอนขวางบนตัก ท่าเบสิก

อุ้มทารกให้นอนตะแคงเข้าหาตัวมารดา ศีรษะและลำคอวางอยู่บนข้อพับแขนข้างเดียวกับเต้านมข้างที่ทารกดูด แขนและมือโอบกอดทารกไว้ ให้ศีรษะของทารกอยู่เหนือลำตัวเล็กน้อย ใช้มืออีกข้างประคองเต้านมเป็นรูปตัว U หรือตัว C จากนั้นเมื่อทารกอ้าริมฝีปากได้กว้างให้เคลื่อนริมฝีปากเข้าให้ตรงกับหัวนมมารดา
Cross Cradle Hold - ท่านอนขวางบนตักประยุกต์

อุ้มทารกให้เข้าหามารดาใช้มือและแขนคนละข้างกับเต้าที่ให้ทารกดูดประคองบริเวณต้นคอและท้ายทอยของทารก ตัวอย่างเช่น ถ้าให้นมลูกเต้านมขวา ให้ใช้มือซ้ายประคองศีรษะและท้ายทอยของลูกน้อย ท่านี้จะช่วยให้ควบคุมศีรษะของทารกให้เข้าเต้าได้ดีขึ้น 
Football Hold - ท่าอุ้มฟุตบอล

ให้ทารกนอนในท่ากึ่งตะแคงกึ่งนอนหงายด้านข้างลำตัวมารดาข้างที่จะดูดนม ใช้มือและแขนข้างเดียวกันกับเต้านม กอดกระชับตัวทารก โดยที่ส่วนขาอยู่ทางด้านข้างลำตัวมารดา มืออีกข้างประคองเต้านมเป็นรูปตัว U หรือตัว C เมื่อทารกอ้าริมฝีปากกว้างให้เคลื่อนริมฝีปากเข้าหาหัวนมมารดา
Side lying Position - ท่านอนตะแคง

มารดาหนุนหมอน ให้มารดาและทารกนอนตะแคงเข้าหากัน จัดท่าทางให้ศีรษะทารกอยู่เหนือลำตัวเล็กน้อย ใช้แขนประคองลำตัวทารกให้ชิดกับลำตัวมารดา อาจจะใช้ผ้าหรือหมอนมาหนุนหลังลูกได้ ใช้มืออีกข้างประคองเต้าช่วย ในช่วงแรกที่ทารกเริ่มดูด เมื่อทารกอ้าริมฝีปากกว้างให้เคลื่อนเข้าหาหัวนมมารดา ท่านี้จะมีประโยชน์ในการให้นมช่วงกลางคืนและดีต่อคุณแม่ที่ผ่าคลอด เพราะไม่จำเป็นต้องใช้แรงในการอุ้มมาก

 

ที่มา: คลินิกนมแม่ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, American College of Obstetricians and Gynecologists


บทความที่เกี่ยวข้อง
เช็คพัฒนาการลูกน้อย Newborn Reflexs
ปฏิกิริยาตอบสนองของเด็กแรกเกิด (Newborn Reflexs) เป็นการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติที่ทารกทำเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าบางอย่างที่เกิดขึ้น เช่น ดูด กำนิ้ว สะดุ้ง เป็นต้น
สิทธิสุขภาพ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
"กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" หรือ "บัตรทอง 30 บาท" ตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพที่ดีของมารดาที่นำไปสู่สุขภาพดีของลูกน้อย
"ดาวน์ซินโดรม" รู้ก่อน เพื่อเตรียมพร้อม
กลุ่มอาการดาวน์หรือดาวน์ซินโดรมเป็นโรคทางพันธุกรรม ที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ