แชร์

"ภูมิแพ้" อาหารในเด็ก

อัพเดทล่าสุด: 8 ก.ย. 2023
257 ผู้เข้าชม

ภูมิแพ้อาหารในเด็ก
จะสังเกตอาการแพ้ได้อย่างไร 

- ลมพิษหรือผื่น
- คลื่นไส้อาเจียน
- การไอ
- ท้องร่วง
- ผื่นแดงรอบปาก
- น้ำมูกไหลหรือคัดจมูก
- อาการบวมที่ใบหน้าขาหรือแขน
- ความหนาแน่นในลำคอ
- หายใจลําบาก รวมทั้งหายใจดังผิดปกติ
หากมีอาการรุนแรงมาก **สัญญาณของการช็อก ได้แก่ ผิวสีซีดผิวคล้ำ หายใจอย่างรุนแรง หมดสติ หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบนำตัวส่งแพทย์ทันที

ทั้งนี้แสดงอาการก็อาจมีทั้ง “อาการแบบเฉียบพลัน” คือรับประทานอาหารเข้าไปแล้วเกิดอาการทันที หรือภายใน 4 ชั่วโมง ซึ่งอาจมีผื่นขึ้น เป็นลมพิษ หน้าบวม ปากบวม หรือหายใจติดขัด และ “อาการแบบเรื้อรัง” คือมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้องเรื้อรัง ซึ่งเด็กบางรายจะมีอาการปวดท้องตลอดหลังรับประทานอาหารเข้าไป บางรายถ่ายเป็นเลือด หรือบางรายลำไส้อักเสบมากจนไม่สามารถดูดซึมโปรตีนเข้าไปได้ ทำให้เด็กผอม น้ำหนักน้อย ซึ่งถือว่าเป็นภาวะที่ค่อนข้างอันตราย หรือในอีกกรณีคือ “อาการแบบผสมระหว่างเฉียบพลันและเรื้อรัง” ซึ่งอาการแบบนี้จะสามารถเจออาการแบบที่กล่าวมาร่วมกัน

อาหารที่พบว่าทำให้มีการแพ้ได้ มีอะไรบ้าง
อาหารที่พบมีรายงานว่าทำให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อย คือ ไข่ นม ถั่วลิสง ถั่ว (Tree nuts) ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ส่วนอาหารอื่นๆ ได้แก่ งา เมล็ดพืช อาหารทะเล เนื้อสัตว์ และผลไม้

อาการแพ้อาหาร จะเริ่มเกิดในเด็กในช่วงอายุเท่าใด? อายุเท่าใดอาการจึงจะหายไป?

การจัดเตรียมอาหารมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดการแพ้อาหารอย่างไรหรือไม่?
อาหารแต่ละชนิดที่เป็นสาเหตุของการแพ้อาหาร มีช่วงเวลาที่เริ่มเกิดในเด็กหรือผู้ใหญ่แตกต่างกัน มีความรุนแรงแตกต่างกัน และอาการแพ้จะหายไปในช่วงอายุที่แตกต่างกันเช่นกัน การได้รับอาหารหรือการจัดเตรียมอาหารในบางครั้งก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิดการแพ้อาหารแตกต่างกันไป 

ที่มาข้อมูล: รองศาสตราจารย์ วิมล ศรีศุข ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, "บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน การแพ้อาหารในเด็ก.........ข้อมูลสรุปสำหรับพ่อแม่มือใหม่"


บทความที่เกี่ยวข้อง
เช็คพัฒนาการลูกน้อย Newborn Reflexs
ปฏิกิริยาตอบสนองของเด็กแรกเกิด (Newborn Reflexs) เป็นการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติที่ทารกทำเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าบางอย่างที่เกิดขึ้น เช่น ดูด กำนิ้ว สะดุ้ง เป็นต้น
สิทธิสุขภาพ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
"กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" หรือ "บัตรทอง 30 บาท" ตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพที่ดีของมารดาที่นำไปสู่สุขภาพดีของลูกน้อย
"ดาวน์ซินโดรม" รู้ก่อน เพื่อเตรียมพร้อม
กลุ่มอาการดาวน์หรือดาวน์ซินโดรมเป็นโรคทางพันธุกรรม ที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ