แชร์

"ดาวน์ซินโดรม" รู้ก่อน เพื่อเตรียมพร้อม

อัพเดทล่าสุด: 12 พ.ย. 2024
402 ผู้เข้าชม
กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม

 

โดยคนปกติทั่วไป จะมีโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ (46 แท่ง) โดยคู่ที่ 23 จะเป็นตัวกำหนดเพศ (xx-ผู้หญิง, xy-ผู้ชาย) แต่เด็กกลุ่มอาการดาวน์ จะมีโครโมโซม คู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง กลายเป็น ทั้งหมดมี 47 แท่ง

ลักษณะของเด็กกลุ่มดาวน์

  • ตาห่าง
  • หางตาชี้ขึ้น
  • หน้าแบน
  • ดั้งแบน
  • กะโหลกศีรษะด้านหลังแบน
  • เตี้ย
  • ศีรษะเล็ก
  • คอสั้น
  • ใบหูเล็กต่ำ
จะทราบได้อย่างไร? ว่าการตั้งครรภ์มีความเสี่ยงสูง หรือ ต่ำ

1. อายุของหญิงตั้งครรภ์

ความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ ที่จะมีโอกาสมีลูกเป็นเด็กกลุ่มอาการดาวน์ จะเพิ่มขึ้นตาม "อายุ" กล่าวคือ ยิ่งคุณแม่ตั้งครรภ์มีอายุมาก ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงมาก (ตัวอย่างเช่น คุณแม่ตั้งครรภ์ตอนอายุ 35 ปี* จะมีความเสี่ยงที่ลูกจะเกิดมาเป็นกลุ่มอาการดาวน์ คิดเป็นสัดส่วน 1:350) *เป็นอายุตอนที่ครบกำหนดคลอด

2. การตรวจคลื่นเสียงความมถี่สูง เพื่อวัดความหนาบริเวณต้นคอของทารกในครรภ์

ถ้ามีน้ำสะสมอยู่บริเวณต้นคอทารกอายุครรภ์ 10-14 สัปดาห์ (บาง = เสี่ยงต่ำ / หนา = เสี่ยงสูง)


.
3. การเจาะเลือดตรวจ

เพื่อตรวจหาค่าสารเคมีในเลือด

4. การเจาะเลือดหญิงตั้งครรภ์เพื่อวิเคราะห์ DNA ของทารกในครรภ์

5. เจาะน้ำคร่ำหรือการตรวจชิ้นเนื้อรก
.

กรณีผลการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดพบว่าทารกในครรภ์เป็นกลุ่มอาการดาวน์ สามี และครอบครัวจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลการตรวจและทางเลือกในการตัดสินใจต่อไป (ยุติการตั้งครรภ์หรือตั้งครรภ์ต่อไปตามปกติ)


การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาภาวะดาวน์ซินโดรม แต่การตรวจเช็กอย่างละเอียดจะช่วยให้ครอบครัวสามารถวางแผนเตรียมความพร้อมและดูแลเจ้าตัวเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด

 

ที่มา: "ความรู้เรื่องกลุ่มอาการดาวน์" กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย


บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำไมหัวลูกน้อย "เต้นตุบๆ" ตลอดเวลา
"กระหม่อมทารก" (หรือที่เรียกว่า ฟอนตาเนลล์ (fontanelles)) คือ ช่องว่างระหว่างกระดูกหลัก 5 ชิ้นของกะโหลกศีรษะ (ที่ทำให้พ่อแม่เห็นศีรษะลูกน้อยเต้นตุบๆ)
6 สิ่ง ที่คุณอาจไม่รู้ว่าลูกน้อยของคุณ "ทำได้ดี"
ใครจะคิดว่า "ทารก" มีความสามารถที่น่าทึ่งเกินกว่าที่คุณจะจินตนาการ
เทคนิค "แปรงฟัน" ให้ลูกน้อยครั้งแรก
ขั้นตอนการแปรงฟันของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกหนักใจ โดยเฉพาะครั้งแรกของคุณ สิ่งสําคัญคือต้องทำอย่างช้าๆ และอ่อนโยน
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ