ตาขี้เกียจ ไม่สังเกตให้ดี อาจเสี่ยงตาบอด!
อัพเดทล่าสุด: 10 ก.พ. 2024
291 ผู้เข้าชม
โรคตาขี้เกียจ (amblyopia)
เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็กตั้งแต่อายุ 1-7 ปี หากไม่สังเกตให้ดี อาจทำให้ถึงขั้นเสี่ยงตาบอดได้!
โรคตาขี้เกียจ หรือที่พูดกันทั่วไปคือ โรคตาบอดตาใส เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมองเห็นผิดปกติ ตาทั้ง 2 ข้างเห็นชัดไม่เท่ากัน ร่างกายจึงเลือกใช้ตาข้างที่เห็นชัดมากกว่า ทำให้การพัฒนาของระบบประสาทส่วนการมองเห็นของตาข้างนั้นๆ ลดลงหรือทำให้สมองพัฒนาการการมองเห็นลดลงทั้ง 2 ข้าง
การพัฒนาระบบประสาทในส่วนการมองเห็น จะเริ่มต้นตั้งแต่ช่วง 3 เดือนแรก ไปถึง อายุ 9 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีการพัฒนาการของการมองเห็นสูงสุด หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ จะทำให้รักษาได้ยากขึ้น
สาเหตุของโรค
- มีสิ่งกีดขวาง เช่น หนังตาตก กระจกตาขุ่น ต้อกระจก หรือมีเลือดออกในตา
- ตาเข ถ้าสมองเลือกรับภาพจากตาใดตาหนึ่งซ้ำๆ เพียงข้างเดียว ตาอีกข้างอาจจึงเกิดเป็นตาขี้เกียจ
- สายตาสั้น ยาว หรือเอียง ถ้ายิ่งไม่ได้ใส่แว่นเพื่อแก้ไข ก็อาจทำให้เกิดตาขี้เกียจได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
ปฏิกิริยาตอบสนองของเด็กแรกเกิด (Newborn Reflexs) เป็นการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติที่ทารกทำเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าบางอย่างที่เกิดขึ้น เช่น ดูด กำนิ้ว สะดุ้ง เป็นต้น
"กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" หรือ "บัตรทอง 30 บาท" ตระหนักถึงความสำคัญของการมีสุขภาพที่ดีของมารดาที่นำไปสู่สุขภาพดีของลูกน้อย
กลุ่มอาการดาวน์หรือดาวน์ซินโดรมเป็นโรคทางพันธุกรรม ที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง