แชร์

ความเสี่ยงของครรภ์แฝด

อัพเดทล่าสุด: 25 ม.ค. 2024
404 ผู้เข้าชม

เป็นการตั้งครรภ์ที่คุณแม่และลูกน้อยมีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือเสียชีวิตสูงกว่าการตั้งครรภ์ทั่วไป โดยเฉพาะครรภ์แฝดที่มีรกอันเดียวและใช้ถุงน้ำคร่ำเดียวกัน

โอกาสที่จะทำให้เกิดครรภ์แฝด
  1. ประวัติครอบครัวมีครรภ์แฝดมาก่อน
  2. เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการเจริญพันธุ์ ทั้งการใช้ยากระตุ้นให้ไข่ตก การทำเด็กหลอดแก้ว การใส่ตัวอ่อน และ อื่นๆ ทั้งหมดนี้มีส่วนช่วยทำให้โอกาสเกิดครรภ์แฝดมีสูงขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนหรือผลกระทบที่เกิดกับคุณแม่ ได้แก่
  • แพ้ท้องรุนแรงกว่าปกติ
  • แท้ง (โดยเฉพาะครรภ์แฝดชนิดไข่ใบเดียวกัน)
  • ตกเลือดก่อนคลอด หรือหลังคลอด
  • เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ไปจนถึงภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเพิ่มขึ้น
  • ภาวะซีด โลหิตจาง 
  • เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับลูก ได้แก่
  • พิการแต่กำเนิด
  • พบการเสียชีวิตของทารกคนใดคนหนึ่งระหว่างช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์
  • การพันกันของสารสะดือ โดยส่วนใหญ่จะเกิดในทารกที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำเดียวกัน
  • ทารกน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
  • ทารกแฝดมีส่วนใดส่วนหนึ่งเชื่อมติดกัน


บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำไมหัวลูกน้อย "เต้นตุบๆ" ตลอดเวลา
"กระหม่อมทารก" (หรือที่เรียกว่า ฟอนตาเนลล์ (fontanelles)) คือ ช่องว่างระหว่างกระดูกหลัก 5 ชิ้นของกะโหลกศีรษะ (ที่ทำให้พ่อแม่เห็นศีรษะลูกน้อยเต้นตุบๆ)
6 สิ่ง ที่คุณอาจไม่รู้ว่าลูกน้อยของคุณ "ทำได้ดี"
ใครจะคิดว่า "ทารก" มีความสามารถที่น่าทึ่งเกินกว่าที่คุณจะจินตนาการ
เทคนิค "แปรงฟัน" ให้ลูกน้อยครั้งแรก
ขั้นตอนการแปรงฟันของลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่อาจรู้สึกหนักใจ โดยเฉพาะครั้งแรกของคุณ สิ่งสําคัญคือต้องทำอย่างช้าๆ และอ่อนโยน
icon-messenger
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ