share

แบบประเมิน "ความเครียด" ในคุณแม่ตั้งครรภ์

Last updated: 25 Jan 2024
213 Views
แบบประเมิน "ความเครียด" ในคุณแม่ตั้งครรภ์

ความเครียดและภาวะซึมเศร้าในผู้หญิงตั้งครรภ์

ส่งผลต่อร่างกายคุณแม่และทารก โดยพบว่า ความเครียดเรื้อรัง และอาการซึมเศร้าในระหว่างตั้งครรภ์นั้นมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวและพัฒนาการของทารก อีกทั้งยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเสี่ยง "คลอดก่อนกำหนด" 

โดยความเครียดจะไปกระตุ้นให้หลั่งสาร แคทีโคลามีน (Catecholamine) ที่มีผลต่อการทำงานของรกและกล้ามเนื้อมดลูก หดรัดตัวเพิ่มขึ้น การไหลเวียนของโลหิตไปเลี้ยงมดลูกและรกน้อยลง ส่งผลให้มีการหลั่ง พรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ออกมากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ทำให้เกิดการเจ็บครรภ์และเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด

การประเมินและคัดกรองสุขภาพจิตเป็นวิธีการป้องกันความเสี่ยงที่อาจะเกิดขึ้นกับคุณแม่และลูกน้อย ช่วยคุณแม่และลูกน้อยให้มีสุขภาพกายใจที่สมบูรณ์

การประเมินความเครียดนั้น สามารถใช้ได้หลากหลายวิธี โดยวิธีที่ ลูลู่ กูรู นำมานำเสนอคุณแม่หลายๆ ท่านจะป็นแบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเองเบื้องต้น ว่าคุณแม่มีความเครียดหรือไม่ หรือมีอยู่ในระดับใด 

รายละเอียดของแบบประเมินความเครียด มีดังนี้ (*แบบประเมินความเครียด (ST-5) พัฒนาโดยอรวรรณ ศิลปะกิจ (2551))

อาการหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในระยะ 2-4 สัปดาห์แทบไม่มี
(0)
เป็นบางครั้ง
(1)
บ่อยครั้ง
(2)
เป็นประจำ
(3)
มีปัญหาการนอน นอนไม่หลับ หรือนอนมาก



มีสมาธิน้อยลง



หงุดหงิด/กระวนกระวาย/ว้าวุ่นใจ



รู้สึกเบื่อ เซ็ง



ไม่อยากพบปะผู้คน



รวมคะแนน


 

 

แบ่งการประเมินเป็น 4 ระดับ คือ

  • ระดับอาการแทบไม่มี (0 คะแนน) หมายถึง ไม่มีอาการหรือเกิดอาการเพียง 1 ครั้ง
  • ระดับอาการเป็นบางครั้ง (1 คะแนน) หมายถึง มีอาการมากกว่า 1 ครั้ง แต่ไม่บ่อย
  • ระดับอาการบ่อยครั้ง (2 คะแนน) หมายถึง มีอาการเกิดขึ้นเกือบทุกวัน
  • ระดับอาการเป็นประจำ (3 คะแนน) หมายถึง มีอาการเกิดขึ้นทุกวัน

คิดเป็นคะแนนรวมระหว่าง 0-15 คะแนน มีจุดตัดคะแนนที่น้อยกว่า 4 เพื่อจำแนกภาวะเครียดเป็น 3 กลุ่มคือ

0-4 คะแนน

ไม่มีความเครียด ในระดับที่ก่อให้เกิดปัญหากับตัวเอง ยังสามารถจัดการกับ
ความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ และปรับตัวกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่าง
เหมาะสม
5-7 คะแนนสงสัยว่ามีความเครียด ควรผ่อนคลายความเครียด ด้วยการพูดคุยหรือ
ปรึกษาหารือกับคนใกล้ชิด เพื่อระบายความเครียดหรือคลี่คลายที่มาของปัญหา
และอาจใช้การหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ หลายครั้ง หรือใช้หลักการทางศาสนาเพื่อคลาย
ความกังวล
8 คะแนนขึ้นไป มีความเครียดสูง ในระดับที่อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดหลัง นอน
ไม่หลับ ควรขอรับคำปรึกษาจากบุคลากรสาธารณสุข เพื่อดูแลจิตใจหรือได้รับการ
คัดกรองด้วยแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า (2Q) หรือส่งต่อเพื่อการดูแลรักษาต่อไป

 

การคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วยแบบคัดกรองซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q) (*แบบคัดกรองซึมเศร้า 2 คำถาม (2Q) พัฒนาโดยสุวรรณา อรุณพงค์ไพศาลและคณะ) เป็นแบบคัดกรองค้นหาผู้ที่มีแนวโน้มหรือเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคซึมเศร้า ใช้สัมภาษณ์เพื่อประเมินภาวะซึมเศร้าใน 2 สัปดาห์

รายละเอียดของแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า (2Q)
มีไม่มี
ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมวันนี้ ท่านรู้สึก หดหู่ เศร้า ท้อแท้ สิ้นหวัง  
ใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมวันนี้ ท่านรู้สึก เบื่อ ทำอะไรก็ไม่เพลิดเพลิน
 

 

โดยคำตอบมี 2 แบบ คือ มีและไม่มี

  • ถ้าตอบ "ไม่มี" ทั้งสองข้อ แสดงว่า เป็นปกติ ไม่พบความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า แต่ควรสังเกตอาการของโรคซึมเศร้าต่อไป
  • ถ้าคำตอบ "มี" ในข้อใดข้อหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้อ หมายถึง เป็นผู้มีความเสี่ยงหรือมีแนวโน้มที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า จึงจำเป็นต้องได้รับการแนะนำการรักษาและการประเมินอีกครั้งด้วยแบบประเมินที่มีความจำเพาะสูง 

ที่มา: คู่มือการฝากครรภ์สําหรับบุคลากรสาธารณสุข (2565) สํานักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข


บทความที่เกี่ยวข้อง
ฟันผุ ขณะตั้งครรภ์ เสี่ยง! คลอดก่อนกำหนด
เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ฮอร์โมนและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปากมากขึ้น
ดื่มเบียร์ ขณะตั้งครรภ์ ล้างไขทารกได้ จริงหรือ?
แอลกอฮอล์ ส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ร้ายแรง แม้จะดื่มในปริมาณน้อยก็ตาม การดื่มเบียร์ขณะตั้งครรภ์ เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากมาย
เตรียมตัว ฝากไข่-สเปิร์ม เพื่อวางแผนมีบุตร
การฝากไข่และสเปิร์ม เหมาะสำหรับชาย หญิง ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ แต่ยังไม่พร้อมมีบุตร เป็นการเก็บรักษาคุณภาพของไข่และสเปิร์มให้มีคุณภาพดีและสามารถนำมาใช้เมื่อคู่สมรสพร้อมที่จะมีบุตร
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ