share

"อาหาร" กับพัฒนาการตามวัย

Last updated: 11 Jan 2024
153 Views
"อาหาร" กับพัฒนาการตามวัย

พัฒนาการและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร

  • ในช่วงแรกเกิด - 4 เดือน

ทารกจะใช่การตอบสนองในการกินนมแม่คือ การหันหน้าเข้าหาอกแม่ การดูด การกลืน การดุนลิ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมสัมผัสหรือกดลิ้น (extrusion reflex)

  • ช่วง 4-6 เดือน 

ทารกจะมีความพร้อมในการกินอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว สามารถชันคอได้อย่างมั่นคง มีการทรงตัวที่ดีขึ้น ใช้มือคว้าของเอาเข้าปากได้ extrusion reflex เริ่มหายไป ใช้ขากรรไกรในการบดเคี้ยว

  • ช่วง 6-8 เดือน 

เป็นช่วงที่ลูกน้อยสามารถนั่งได้ดีขึ้น บดเคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น ถือขวดนมเองได้ ส่งเสียงในระหว่างมื้ออาหาร เพื่อแสดงความต้องการอาหาร

  • ช่วง 8-10 เดือน

เริ่มจะใช้ "นิ้วมือ" ได้ดีขึ้น เริ่มกำช้อนเองได้ แต่อาจจะยังไม่สามารถใช้งานได้ดี หยิบอาหารที่เป็นชิ้นเข้าปากกินเองได้ สามารถกินอาหารแข็งได้ดีขึ้น เริ่มชอบอาหารที่มีรชาติและอาหารที่มีลักษณะใหม่ๆ 

  • ช่วง 10-12 เดือน

เป็นวัยที่ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ได้ดี ใช้ช้อนป้อนตัวเองได้บ้าง ฟันขึ้นหลายซี่แล้ว สามารถขบเคี้ยวได้เก่งขึ้น  เริ่มเรียนรู้ในการทิ้งของและอาหารลงพื้น ถือถ้วยได้เอง ส่งเสียงและขยับตัวระหว่างมื้ออาหารมากขึ้น

อาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของทารก ความหยาบ ละเอียดของอาหาร และวิธีการปรุง ควรให้สอดคล้องกับพัฒนาการตามวัย

เมื่ออายุครบ 6 เดือน อาหารที่ให้ลูกน้อยทานควรมีลักษณะเนื้อค่อนข้างละเอียด เพื่อให้กลืนง่าย เมื่อทารกสามารถเคี้ยวและกลืนอาหารได้ดี จึงค่อยๆ เพิ่มความหยาบของอาหาร ไม่จำเป็นต้องบดละเอียดมาก เพื่อให้มารกมีความคุ้มเคยกับอาหารที่ชิ้นเล็กๆ หลังจากนั้นจะให้โจ๊ก ข้าวต้ม และข้าวสวยได้ตามลำดับ

เมื่ออายุครบ 8-9 เดือนจะสามารถใช้นิ่วมือหยิบจับอาหารชิ้นเล็กๆ ได้ ควรให้ลูกน้อยทานอาหารที่ไม่แข็งมากกินเองได้ เช่น ฟักทองนึ่ง มันต้มหั่นชิ้น เป็นต้น **แต่ไม่ควรให้อาหารที่มีลักษณะแข็งมากเกินไปหรือเม็ดเล็กๆ เช่น ถั่ว ข้าวโพด เพราะอาจทำให้สำลักได้

สำหรับอายุ 12 เดือนขึ้นไป สามารถทานอาหารได้เหมือนผู้ใหญ่แล้ว

ที่มา: คู่มืออาหารตามวัยสำหรับเด็กทารกและเด็กเล็ก, 2552

บทความที่เกี่ยวข้อง
ฟันผุ ขณะตั้งครรภ์ เสี่ยง! คลอดก่อนกำหนด
เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ฮอร์โมนและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปากมากขึ้น
ดื่มเบียร์ ขณะตั้งครรภ์ ล้างไขทารกได้ จริงหรือ?
แอลกอฮอล์ ส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ร้ายแรง แม้จะดื่มในปริมาณน้อยก็ตาม การดื่มเบียร์ขณะตั้งครรภ์ เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากมาย
เตรียมตัว ฝากไข่-สเปิร์ม เพื่อวางแผนมีบุตร
การฝากไข่และสเปิร์ม เหมาะสำหรับชาย หญิง ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ แต่ยังไม่พร้อมมีบุตร เป็นการเก็บรักษาคุณภาพของไข่และสเปิร์มให้มีคุณภาพดีและสามารถนำมาใช้เมื่อคู่สมรสพร้อมที่จะมีบุตร
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ